บูชาบุคคลที่ควรบูชา


บูชาบุคคลที่ควรบูชา
มงคลข้อที่หนึ่งและข้อที่สอง พระพุทธเจ้าทรงสอนให้หลีกหนีจากพาล เพราะเป็นเหตุแห่งความเสื่อมทรามแล้ว ทรงสอนให้คบบัณฑิตเพราะเป็นเหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าของชีวิตชื่อว่าได้ยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น การเลือกทางเดินของชีวิตให้มีพื้นฐานของความดีอย่างมั่นตงเหมาะที่จะเดินทางไปสู่คุณความดีอันสูงยิ่งขึ้นไป ดังนั้น ในมงคลข้อที่สามนี้ จึงสอนให้รู้จักการบูชาบุคคลที่ควรบูชา
3.1   ความหมายของ “บูชา”
บูชาตามหลังพระพุทธศาสนา มีหลังปฏิบัติที่ประกอบด้วยเหตุด้วยผล ซึ่งผู้ประพฤติปฏิบัติใช้ปัญญาพิจารณาเห็นได้บูชาในมงคลข้อนี้ หมายถึง การกระทำ 3 อย่างคือ
                ปัคคัณหะ               ได้แก่       การยกย่อง
                สักการะ                 ได้แก่       การบูชาด้วยสิ่งของ
                สัมมานะ ได้แก่       การนับถือ
การยกย่อง บูชาด้วยสิ่งของ และการยอมรับนับถือ ทั้ง 3 นี้ เป็นลักษณะของการบูชา ส่วนในอรรถถา ปรมัถโชติกา ขุททกปาฐวัณณนา ท่านกล่าวว่าการทำสักการะ ดารเคารพนบน้อมและไหว้ ชื่อว่า บูชา ( มงคัตถทีปนี แปล 1 2533 : 81 )
3.1.1 ปัคคัณหะ การยกย่องได้แก่ การเชิดชู เทิดทูน สนับสนุนและสรรเสริญคนดี เช่น การเลือกคนให้ดำรงตำแหน่ง การเลือกผู้นำการเลือกผู้แทน เป็นต้น ถือเป็นลักษณะของการยกย่อง เพราะผู้ที่เลือกเห็นความดีงามของเขา เทิดทูนเขา การปฏิบัติเช่นนี้จัดการบูชาแบบปัคคัณหะ คือ บูชาด้วยการยกย่องให้ปรากฏ อีกนัยน้อย การที่ศาสนิกชนทำการสวดสรรเสริญคุณของศาสดา หรือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาของตน จัดว่าเป็นการบูชาเช่นเดียวกัน
3.1.2  สักการะ การบูชาด้วยสิ่งของ ได้แก่ การแสดงบูชาออกมายนอกโดยบูชาด้วยอามิสสิ่งของ เช่น ธูปเทียน ดอกไม้ ของหอม โคมประทีป ข้าวน้ำ เป็นต้น ของใช้ประกอบการบูชาเหล่านี้เรียกว่า เครื่องสักการะ คือ เครื่องประกอบพิธีการ การที่เราเอาดอกไม้ธูปเทียน ข้าวน้ำไปบูชาพระพุทธรูป นั้น มิใช่เราเอาสิ่งของเหล่านั้นไปให้พระ แต่เอาไปบูชาพระเพื่อชักจูงโน้มน้าวใจของเราให้เกิดความเชื่อความเลื่อมใสในพระคุณของพระแล้วมุ่งสู่ความดี จัดว่าเป็นการบูชาอีกรูปแบบหนึ่ง
3.1.3      สัมมานะ การนับถือ ได้แก่ การยอมรับนับถือด้วยความจริงใจ ยอมรับเอามาเป็นคติ เป็นแบบอย่างตัวอย่างที่ดีงามเป็นท่ากายถวายชีวิต เช่น ศาสนิกชนยอมรับนับถือศาสดา และหลักยึดเหนี่ยวนุศาสนาของตนเอง ชาวพุทธยอมรับนับถือพระรัตนตรัย ชาวคริสต์ยอมรับนับถือพระยะโฮวาและพระเยซู การยอมรับนับถืออย่างนี้เป็นลักษณะของการบูชาชาแบบสัมมานะ
              กล่าวเฉพาะในพระพุทธศาสนา การที่ศาสนิกชนกลาวสรรเสริญคุณรัตนตรัยเป็นการบูชาด้วยปัคคัณหะ การบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน เป็นการบูชาสักการะ การบูชาด้วยปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของศาสนา เป็นการบูชาด้วยสัมมานะ
                อันนัยหนึ่ง การบูชามี 2 อย่าง ( มังคลตถทีปนี แปล เล่ม  1 2533 : 81 ) คือ
ก.       อามิสบูชา  คือ  การบูชาด้วยสักการะมีดอกไม้ เป็นต้น และด้วยปัจจัย 4 มีอาหาร  เครื่องนุ่มห่ม  เสนาสนะ  ยารักษาโรค เป็นต้น
ข.       ปฏิบัติบูชา  คือ  การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอนรวมความว่า  คุณธรรมที่เรียกว่า บูชา ไม่ว่าจะเป็นอามิสบูชาประกอบการบูชานั้น  เป็นการแสดงบูชาให้ปรากฏออกมายนอกพระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญปฏิบัติบูชาว่า สามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้และเป็นการบูชาอย่างยิ่ง พระองค์ตรัสว่า
“อานนท์”  ผู้ใดแล  เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม  อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม  เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม  ปฏิบัติชอบยิ่งมีปกติประพฤติตามธรรม ผู้นั้นชื่อว่าสักการะ เคารพ  นับถือ  บูชา  ตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
3.2  บุคคลที่ควรบูชา
            การที่เราจะบูชาสิ่งใดหรือบุคคลใด จุดมุ่งหมายก็เพื่อความเจริญก้าวหน้าของชีวิต  เหมือนกับเรารับประทานอาหาร ก็เพื่อจะให้ร่างการเจริญเติบโตแข่งแรง  จำเป็นต้องเลือกทานสิ่งที่เป็นประโยชน์ไม่เป็นพิษเป็นภัย บั่นทอนการเจริญเติมโตของร่างการ  การบูชาก็เช่นเดียวกัน  เราต้องรู้จักเอกบูชาบุคคล  สิ่งที่ควรบูชา  ถ้าไปบูชาบุคคลผิด  หรือสิ่งที่ไม่ควรบูชา  ก็จะเป็นสิ่งอัปมงคลของผู้บูชาเอง ความเจริญก้าวหน้าของชีวิตก็หยุดชะงักไปด้วย การเฉพาะเรื่องบบุคคลควรบูชาที่มีคุณความดี  มีคุณค่าแก่การระลึกนึกถึง  และยึดเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามได้  ซึ่งพอประมวได้ดังนี้
                3.2.1      พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า  และพระอริยะสาวก ชื่อว่าปูชนียะบุคคล  เป็นผู้ควรแก่การบูชาตลอดไป เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสด้วยเครื่องเศร้าหมองจัดเป็นอริยะชน ที่เราควรบูชาอย่างยิ่งแท้จริง
                3.2.2      พระสงฆ์  หมายถึง  สมมติสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก่อนแล้ว  อบรมสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบิดีปฏิบิชอบตาม  แม้มิใช้อริยะสงฆ์
                3.2.3      พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นธรรมราชา จัดเป็นบุคคลของไพร่ฟ้าประชาชน
                3.2.4      บิดามารดาญาติผู้ใหญ่ผู้ปฏิบัติ เป็นบัณฑิต ไม่เป็นพาล อยู่ในฐานะเป็นพรหมของบุตรหลาน จัดเป็นปูชนียะบุคคลของบุตรหลาน ควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง
3.3  ประโยชน์ของการบูชาบุคคลที่ควรบูชา
                การเลือกบูชาที่ควรบูชา  พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอุดมมงคล คือ  ทำให้ผู้บบัญชามีความสุขความเจริญก้าวหน้าในชีวิต  ประมวลกล่าวเป็นข้อๆดังนี้
                3.3.1 มีหลักดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง  เพราะเมื่อบุคคลบูชาคนดี บูชาความดีของผู้ที่ควรบูชา จิตใจจะผ่องใส  สงบเยือกเย็น  และคิดอ่านไปทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ได้ยกระดับจิตไปผูกไว้กับคุณธรรมความดีของผู้ที่ควรบูชา  และประพฤติปฏิบัติตามโดยยึดเอาคุณธรรมความดีเป็นคติแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
                3.3.2 กำจัดสิ่งอัปมงคลให้หมดไป การบูชาคือการยกย่อง สนับสนุน การยอมรับนับถือ และการสักการะความดีงาม เมื่อบุคคลน้อมนำเอาสิ่งที่ดีเข้าในตน เข้ามึกอบรมจิตของตน สิ่งที่ชั่วร้ายก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ เป็นการกำจัดสิ่งอัปมงคลออกไป อีกอย่างหนึ่งเมื่อบุคคลยกย่องสนับสนุน ยอมรับนับถือและการสักการะคนดี คนชั่วก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน
                3.3.3 การบูชาป้องกันการหลงผิด คนที่ต้องการความเจริญก้าวหน้าในชีวิตต้องพยายามรักษาความเป็นตัวของตัวไว้ คือ จะต้องรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ จะรัยสิ่งใดเข้ามาปรับปรุงตัว ก็ต้องเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้ตัวดีขึ้น มิใช้สิ่งที่จะทำให้ตัวเลวลง บางคนหลงผิดลือความเป็นตัวของตัวเองเสีย แล้ววิ่งตามความนิยมของคนอื่น ตัวเป็นพุทธ บูชาพระรัตนตรัย อุตส่าห์เอาพระเยมทองแขวนคอไว้ แต่ไปเที่ยวปล้นจี้ขโมยเขากิน อย่างนี้เรียกว่า คนหลงผิด ดังนั้น ถ้าบูชาพระพุทธเจ้า จะต้องประพฤติปฏิบัติให้สอดคล้องกับคำสอนของพระองค์ด้วย จึงเรียกได้ว่า ไม่หลงผิด
                3.3.4 อบรมจิตใจให้ประณีตขึ้น การบูชาเป็นการยกระดับจิตให้สูงขึ้น ไม่ทำ พูด และคิด ในสิ่งที่ต่ำทราม เพราะการบูชาที่ควรบูชา คือ การเอา “ความดี” ของผู้นั้นเป็นที่จั้ง บูชาความดีของเขาน้อมเข้ามาอบรมจิตใจเราให้เจริญตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น