คบบัณฑิต


คบบัณฑิต
เมื่อพระพุทธเจ้าสอนให้หลีกหนีห่างไกลจากพาลแล้ว ก็ทรงสอนให้คบหาสมาคมกับบัณฑิต คือ ให้พยายามเอาตนออกห่างจากสิ่งที่ไม่ดี และในโอกาสเดียวกัน ก็ให้เข้าหาสิ่งที่ดีที่จะทำให้เราประสบความสุขความเจริญก้าวหน้า
2.1  ความหมายของคำว่า “บัณฑิต”
พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า “บัณฑิต” ซึ้งเป็นคำที่หมายถึงคุณลักษณะของคนประเภทที่ตรงข้ามกับ “พาล” คนที่ถูกเรียกว่า “บัณฑิต” หมายถึง ตัวปัญญาที่ฉลาดรอบรู้เหมือนกันแต่เวลาตีความหมายออกมาไม่ตรงกัน ทางโลกถือว่า บัณฑิต  คือ คนมีความรู้ ใช้แทนกันกับคำว่า “นักปราชญ์” ต่อมาวงการศึกษานำคำว่าบัณฑิตไปใช้เป็นเครื่องวัดภูมิทางการศึกษา เช่น นิติศาสตร์บัณฑิต ครุศาสตร์บัณฑิต เป็นต้น หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ จนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปทุกสาขาวิชา ใครมีความรู้มากคนนั้นก็ได้เป็นบัณฑิต แต่ทางธรรมมิได้ถือเอาการมีความรู้เป็นเกณฑ์ แต่ถือเอาการใช้ความรู้กล่าวคือ ผู้ดำเนินชีวิตด้วยความรู้ ถือใครจะมีความรู้เจนจบขนาดไหนก็ตาม แต่ถ้าไม่ดำเนินชีวิตของตนด้วยความรู้ ผู้นั้นก็ไม่นับว่าเป็นบัณฑิต เพราะฉะนั้นผู้ที่พระพุทธเจ้ายอมรับว่าเป็นบัณฑิตก็เฉพาะผู้ที่ใช้ความรู้เท่านั้น มิใช้เพียงแต่มีความรู้ กล่าวคือ บัณฑิตต้องรู้จักผิด รู้จักถูก รู้จักบาปบุญ รู้จักโทษ รู้จักประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ความรู้ที่มีลักษณะเช่นนี้ พระพุทธเจ้าศาสนารวมเรียกว่า “ปัญญา” ดังนั้นผู้ที่ชื่อว่าเป็นบัณฑิตก็คือ คนมีปัญญาหรือผู้ที่ดำเนินชีวิตในประโยชน์ทั้งหลายด้วยปัญญาคติ ( มังคลัตถทีปนี แปล เล่ม 1 2533 : 22) อีกอันหนึ่ง ผู้ที่ชื่อว่า “บัณฑิต” เพราะประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10  มีเว้นจาก การทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ซึ่งมีนัยตรงข้ามกับพาลดังกล่าวแล้ว
2.2  ลักษณะของบัณฑิต
บัณฑิตทางโลกกับบัณฑิตทางธรรมมีจุดที่จะดู หรือจำแนกแตกต่างกัน บัณฑิตทางโลกดูที่ใบรับรองหรือปริญญาบัตรก็ทราบได้แต่บัณฑิตทางธรรมไม่มีใบรับรอง ไม่มีบัตรแสดง จุดที่ดูนั้นต้องพิจารณาที่พฤติกรรมของแต่ล่ะคนที่แสดงออกมาให้ปรากฏ คนที่รู้จักใช้ความรู้ ก็คือ คนที่มีปัญญา รู้จักใช้ปัญญาพิจารณาจำแนกสิ่งที่ดีชั่วรู้จักประพฤติดีละเว้นความชั่ว ลักษณะบัณฑิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้พาลบัณฑิตสูตร ( พระไตรปิฎก เล่มที่ 14 2525 : 277 ) ว่า “กษฏทั้งหลาย      บัณฑิตลักษณะ บัณฑิตนิมิต บัณฑิตาปทาน ของบัณฑิตทั้ง 3  ประการเหล่านี้ 3 ประการอะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลายบัณฑิตในโลกนี้ย่อมเป็นผู้คิดแต่เรื่องที่คิดดี พูดแต่คำพูดที่ดี และทำแต่กรรมที่ดี”
             หมายความว่า บัณฑิตมีชีวิตอยู่ด้วยการประพฤติปฏิบัติชอบทางใจ เรียกว่า มโนสุจริต ทางวาจา เรียกว่า วจีสุจริต และทางกาย เรียกว่า กายสุจริต ลักษณะทั้ง 3ประการนี้ตรง
ข้ามลักษณะของพาลที่ได้กล่าวมาแล้ว
2.3  พฤติกรรมของบัณฑิต
บัณฑิตมรปกติกระทำในสิ่งซึ่งตรงข้ามกับพาล ดังต่อไปนี้
2.3.1   ย่อมไม่ชักนำไปในทางที่ผิด เช่น ไม่ชักนำให้ลุ่มหลงในอบายมุข เป็นต้น
2.3.2    ชอบทำแต่สิ่งที่เป็นธุระ คือ รู้จักทำงานในหน้าที่ของตนเองให้สำเร็จลุล่วง ไม่ก้าวก่ายงานในหน้าที่ของคนอื่น เว้นแต่จะได้รับการข้อร้อง และเมื่อมอบหมายง่านให้ผู้อื่นแล้ว ต้องให้เกียรติเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน ไม่จ้องจับผู้อื่น
2.3.3     ชอบทำแต่สิ่งที่ถูกที่ควร ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ชอบเห็นผิดและชอบทำผิด ชอบแต่สิ่งที่ถูกเสมอ
2.3.4     เมื่อถูกว่ากล่าวตักเตือนโดยดีย่อมไม่โกรธ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ถือตัวอวดดีดื้อรั้น เห็นว่าผู้ที่ระเบียบที่จะพึงปฏิบัติกันในสังคมทั้งทางโลกและทางธรรม

2.4  คบบัณฑิต
คบบัณฑิต หมายถึง การพยายามถ่ายทอดเอาคุณสมบัติและคุณธรรมจากผู้ที่คบเข้าในตัวของเรา เพราะในตัวของบัณฑิตนี้มีธาตุธรรมะหายอย่างสมบูรณ์ เหมาะที่จะเป็นอาหารแก่ชีวิตจิตใจของผู้ที่คบหาสมาคม หรือแม้แต่เพียงใดเข้าใกล้อยู่ใกล้ การอยู่ร่วมกับบัณฑิตเหมือนอยู่ใกล้บ่อน้ำที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยมด้วยน้ำที่ใสสะอาด มีความชุ่มชื่น ทำให้จิตใจผ่องใสเกิดปัญญา ต่างจากการอยู่ใกล้กับคนพาลเสมือนอยู่ใกล้บ่อน้ำกลางทะเลทราย มีแต่ความแห้งแล้งทำให้จิตใจเศร้าหมอง หดหู่ ขุ่นมัว ปราศจากปัญญา ดังนั้น การคบกับบัณฑิตท่านจึงกล่าวว่าเป็นมงคลของชีวิต
                การเลือกคบคนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสำหรับชีวิต เพราะเราตกอยู่ในวงล้อมของคน การที่เราแสวงหาความเจริญก้าวหน้าใดๆ สิ่งสำคัญที่เราต้องคิดถึงก่อนอย่างคืนคือคน เพราะเราจะได้ดีได้ชั่ว ร่ำรวยหรือยากจนก็เพราะคน ด้วยเหตุนี้พุทธองค์จึงทรงสอนให้เลือกคบคนก่อน โดยตรัสถึงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคนไว้ในลำดับที่หนึ่งและที่สองแสดงให้เห็นว่า ในการสร้างชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ตลอดจนสร้างสังคมใดก็ตาม ปัญหาที่เราต้องมักคำนึงถึงตั้งแต่แรกที่สุดก็คือ เรื่องของคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น