วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หน้าแรก


มงคลกลุ่มที่ 1
ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต และบูชาบุคคลที่ควรบูชา

ไม่คบคนพาล

ในโลกนี้มีคนอยู่ 2 ประเภท คือ คนดี กับคนไม่ดี คำว่าดีหรือไม่ดีนี้ เราสามารถรู้ได้โดยพฤติกรรมต่างๆที่บุคคลนั้นๆแสดงออกมา และพฤติกรรมนั้นมีผลทำให้คนที่เข้าเกี่ยวข้องหรือคบหาสมาคมกลายเป็นคนดีหรือคนไม่ดีได้ด้วย พระพุทธองค์ทรงสอนให้ศึกษาพวกคนไม่ดีเสียก่อน เพื่อจะได้หลีกหนีให้ห่างไกล เพราะถ้าเราไปร่วมเป็นพวกกับคนประเภทนี้ จะทำให้เป็นคนไม่ดีไปด้วย คนประเภทไม่ดีนี้ท่านเรียกว่า “ พาล สิ่งที่เป็นมงคลแก่ชีวิตประการแรก คือ ไม่คบพาล
1.1 ความหมายของคำว่า “ พาล
ผู้ที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10 มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น หรือ ผู้ที่มีชีวิตอยู่ด้วยอาการสักว่าหายใจเข้าออก มิได้ดำรงชีพอยู่ด้วยการใช้ปัญญาอันประเสริฐ ท่านเรียกว่า “ พาล ” (มังคลัตถทีปนี แปล เล่ม 2533 : 20)
1.2 ลักษณะของคน “ พาล ”
พาลเป็นผู้ที่มีจิตใจขุดมัวเป็นปกติ จึงไม่สามารถใช้สติควบคุมตนเองให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้องได้ มีชีวิด้วยการประพฤติชั่วเป็นปกติวิสัยดังนี้ ( พระไตรปิฎก เล่มที่ 14 2525 : 240 )
1.2.1      ประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต มี3ประเภท คือ
.ความคิดละโมบ คิดโลภทรัพย์สมบัติของผู้อื่น คิดแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่ผิด แลละเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นตลอดเวลา
.ความคิดพยาบาท คิดอาฆาตจองเวรและล้างผลาญผู้อื่น
.เห็นผิดเป็นชอบ เป็นมิจฉาทิฏฐิ คิดออกนอกลลู่นอกทางไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
                                               

1.2.2     ประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต มี4ประเภท
.พูดคำเท็จ พูดโกหกพกลม หาความจริงมิได้
ข. ชอบพูดคำหยาบคาย ด่าประชด พูดแดกดัน ผิดวิสัยสุภาพชน
ค. พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกสามัคคี สอพลอใสร้ายป้ายสีผู้อื่น
ง. พูดเพ้อจ้อ พูดเหลวไหลไร้สาระ พูดพล่อยๆ ไม่ระมัดระวังปาก ทำให้ผู้อื่นเสียหาย
1.2.3      ประพฤติชั่วทางร่างกาย เรียกว่า การทุจริต มี 3 ประเภท คือ
                ก. การล้างผลาญชีวิต การฆ่าฟัน ทรมานร่างการผู้อื่น
                ข. ฉ้อโกง ลักขโมย ปล้น ผลาญทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน
ค. ละเมิดทางกาม  ลุอำนาจความใคร่ มักมากในกามารมณ์ กระทำการฉุด    คร่าอนาจาร และข่มขืน เป็นต้น
                  คนพาลมีลักษณะประพฤติชั่ว คือ ชอบคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วโดยสม่ำเสมอ สิ่งที่ชั่วเลวทรามมักจะอยู่คู่กับคนพาลตลอดเวลา กล่าวโดยสรุปว่าก็คือ พาลประกอด้วยกุศลกรรมบถ 10 ดังกล่าว
1.3 พฤติกรรทมของพาล
                เนื่องจากพาลดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาการสักว่าหายใจเข้าออกปราศจากปัญญา ความรู้สึกนึกคิดดีชั่ว วิธีสังเกตพฤตติกรรมของพาลท่านให้ดูกิริยาท่าทางที่เขาแสดงออกมา ซึ่งมักจะกระทำในสิ่งต่อไปนี้คือ ( มังคลัตถทีปนี แปล เล่ม 1 2533 : 48 )
1.3.1      ย่อมชักนำในทางที่ผิด คือ เสนอแนะและชักชวนไปในทางที่เสียหาย เช่น ชักวนให้ลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุข ชักชวนให้หนีโรงเรียน เป็นต้น
1.3.2      ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช้ธุระ คือ มีนิสัยทิ้งธุระของตนเองแล้วไปหาสอดแทรกธุระของคนอื่น เรียกว่าเป็นคนชอบเกะกะก่อความรำคาญให้แก่ผู้อื่นเสมอ เห็นเป็นความโก้เก๋เก่งกล้า คนประเภทนี้มีฉายาเรียกอีกอย่างว่า “ควายเขขาเกก” ชอบจับผิดเพื่อนร่วมงาน ชอบฟ้องและชอบเขียนบัตรสนเท่ห์ใส่ร้ายผู้อื่น
1.3.3      ชอบแต่สิ่งที่ผิดๆ หมายถึง เห็นผิดและทำผิด ถ้ารู้ว่าทำสิ่งที่ผิดแล้วชอบใจ ถ้าถูกไม่ชอบ เรียกว่าเป็นคนชอบผิด เช่น คนขับรถผิดกฎจราจร แซงซ้ายป่ายขวา หรือขับฝ่าสัญญาณไฟแดง ทั้งๆที่รู้ว่าผิดแต่ชอบใจทำ ทะนงตนว่าเก่ง ว่าแน่ ชอบทำผิดอวดคนอื่นคนอย่างนี้ท่านว่ามีใจวิปริตเป็นพาล
1.3.4      เมื่อแนะนำหรือตักเตือนย่อมแสดงอาการโกรธ ขึ้นชื่อว่าพาลแล้วย่อมไม่ต้องการให้ผู้ใดมาพูดแนะนำหรือว่ากล่าวตักเตือน ข้อนี้เห็นทั่วๆไป เช่น ตำรวจจราจรตักเตือนผู้ขับรถผิดกฎจราจรแทนที่จะสำนึกผิด กลับแสดงอาการโกรธ เป็นต้น เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่เอาความร้ายออกตอบสนองความดีของผู้อื่น คนนั้นก็พาล
1.3.5ไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย คือ ไม่ยอมรับระเบียบหรือมารยาทที่ดีงามที่นะพึงปฏิบัติในสังคม เป็นผู้ที่มีกำลังใจอ่อนแอเป็นคนไม่ชอบระเบียบวินัย เกลียดวินัยและเกลียดคนที่จับผิดทางวินัย เช่น ไม่ชอบเข้าแถวตามลำดับ ชอบลัดคิวตัดหน้าคนอื่น ไม่ชอบข้ามถนนตรงทางม้าลาย เป็นต้น นี้แสดงให้เห็นถึงสภาพของจิตใจที่ไม่ยอมรับรู้กฎเกณฑ์ระเบียบวินัยที่ดีในสังคม เป็นคนมีจิตใจบอดมืดและอ่อนแอ
1.4  ทำอย่างไรเรียกว่าไม่พาล
การคบ หมายถึง การร่วมจิตใจ ถ่ายทอดเอานิสัยของพาลมาปะปนในใจเรา ลักษณะของการคบว่าโดนสรุปมี 3 ประการ คือ
1.4.1      การร่วม มีร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมคิด ร่วมพวก ร่วมก่อการ และร่วมเล่น เป็นต้น
1.4.2      การรับ มีรับเป็นเพื่อน รับเป็นคนสนิท รับเป็นคนใช้ รับเป็นสามีภรรยา รับเป็นที่ปรึกษา เป็นต้น
1.4..3     การให้ มีให้การสนับสนุน ให้ยศ ให้ตำแหน่ง ให้คะแนนเสียง ให้การปกป้อง หรือคุ้มครอง เป็นต้น
การที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า อย่าคบคนพาล หมายถึง อย่าร่วม  อย่ารับ แลละอย่าให้แก่พาลในฐานะซ่องเสพคบหา หารไม่คบชื่อว่า อเสวนา คือ ไม่ซ่องเสพ ที่ท่านให้ไม่คบหาสมาคมกับคนพาลก็เพราะพาลเป็นคนทีเสียเสียแล้ว ใครไปคบก็เท่ากับไปถ่ายทออดเอาความเสียมาจากเขา ร่วมทางทรัพย์ก็เสียทรัพย์ ร่วมทางการก็เสียตัว ร่วมทางจิตก็เสียคน คนเราถ้าได้ทำตนให้เสียไว้แล้ว ก็จะอัปมงคลตลอดไป ชีวิตก็จะไม่ประสบความเจริญก้าวหน้า
1.5  ประโยชน์ของไม่พาล

เนื่องจากพาลมีความประพฤติชั่วทางกาย วาจา และใจ เป็นอาจิณ การที่เราไม่เข้าใกล้ ไม่คบหา ไม่สมาคมกับพาล จะทำให้เราปลอดจากเชื้อพาล คือ ทำให้พฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ ใสสะอาด ปราศจากความขุ่นมัว พื้นฐานทางจิตใจก็พร้อมที่จะรองรับคุณธรรมความดีที่ยิ่งๆขึ้นไป นับว่าได้วางรากฐานอันดีงามให้แก่ชีวิต ไม่มรใครสามารถชักนำไปทางที่ผิดได้ ไม่ถูกตำหนิใส่ความหรือถูกใส่ร้ายปราศจากความหวาดระแวงสงสัยของผู้อื่น ทำให้ประสบแต่ความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น  ดังนั้นการไม่คบคนพาล การไม่ซ่องเสพพาล จึงจัดเป็นมงคลของชีวิตชั้นที่หนึ่ง

 แหล่งที่มา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภุมรินทร์. มงคลชีวิต.กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมมิกจำกัด. 





แจกปฎิทินน่ารัก